top of page

'มะซาง' พืชสุดยอดแห่งนานาประโยชน์ 🌿


🌧 วันพุธท่ามกลางช่วงพายุฝนโหมกระหน่ำไม่หยุดหย่อนแบบนี้

NBT มีพืชมาขอแนะนำให้ได้รู้จักกันอีก 1 ชนิด

นั่นก็คือ.... "มะซาง" 🌿

🌳 มะซางมีประวัติการพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1867 จากการสำรวจแม่น้ำโขง (ค.ศ. 1866-1868) โดย Jean Baptiste Louis Pierre นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้มีความสนใจพรรณไม้เขตร้อนวงศ์ SAPOTACEAE เป็นพิเศษ ซึ่งได้ออกเดินทางพร้อมกับคณะสำรวจอันมีเป้าหมายอยู่ที่ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย เมียนมา และจีน (ยูนาน) โดยวัตถุประสงค์ในการออกสำรวจครั้งนี้เพื่อจัดทำเอกสารทางวิทยาศาสตร์ แผนที่ และศึกษาอารยธรรม

🌳 มะซางสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน โดยดอกมีกลิ่นหอมเย็น เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ ผลสุกรับประทานได้ เมล็ดให้น้ำมันใช้ประกอบอาหาร เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องตกแต่งบ้าน แก่นมีรสหวานเย็น แก้คุดทะราด แก้เสมหะ รากมีรสหวานเย็นเช่นกัน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา ปัจจุบันมีสถานภาพเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากการใช้เนื้อไม้ และผลที่สามารถกินได้ จึงเป็นอาหารของบรรดาสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นและอาจรวมถึงมนุษย์ ทำให้สัดส่วนการเจริญเติบโตกับการใช้ประโยชน์สวนทางกันและหายากในที่สุด

🌳 นอกจากนี้พืชในวงศ์ SAPOTACEAE ยังมีอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ เช่น สกุล 𝑃𝑎𝑙𝑎𝑞𝑢𝑖𝑢𝑚, 𝑃𝑙𝑎𝑛𝑐ℎ𝑜𝑛𝑒𝑙𝑙𝑎, 𝑀𝑎𝑑ℎ𝑢𝑐𝑎 ใช้เนื้อไม้ สกุล 𝑃𝑎𝑙𝑎𝑞𝑢𝑖𝑢𝑚 ใช้ยางที่เรียกว่า gutta percha และผลกินได้ ได้แก่ ละมุดฝรั่ง (𝑀𝑎𝑛𝑖𝑙𝑘𝑎𝑟𝑎 𝑧𝑎𝑝𝑜𝑡𝑎 (L.) P.Royen) ละมุดไทย (𝑀𝑎𝑛𝑖𝑙𝑘𝑎𝑟𝑎 𝑘𝑎𝑢𝑘𝑖 (L.) Dubard) สตาร์แอปเปิ้ล (𝐶ℎ𝑟𝑦𝑠𝑜𝑝ℎ𝑦𝑙𝑙𝑢𝑚 𝑐𝑎𝑖𝑛𝑖𝑡𝑜 L.) นอกจากนี้ที่เป็นไม้ประดับ เช่น พิกุล (𝑀𝑖𝑚𝑢𝑠𝑜𝑝𝑠 𝑒𝑙𝑒𝑛𝑔𝑖 L.)

🌳 โดยธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ได้มีการจัดเก็บมะซางในรูปแบบของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่มีข้อจำกัดด้านเมล็ดที่ไม่สามารถลดความชื้นเพื่อจัดเก็บในสภาวะเยือกแข็งได้ (Recalcitrant seed) ในโอกาสต่อไปเราจะมาเล่าถึงความแตกต่างของการจัดจำแนกประเภทเมล็ดสำหรับการเก็บรักษาในระยะยาวกัน 😊✨


#ธนาคารพืช #plantcollections #ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ #NBT

ดู 1,786 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page