🌸 หนึ่งในพรรณไม้ที่มีสีสันสะดุดตาในเขตเขาหินปูน ซึ่งเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย และเป็นข้อต่อห่วงโซ่ของระบบนิเวศหินปูนช่วยให้สรรพชีวิตผ่านช่วงเวลาอันร้อนแล้งในแต่ละปีไปได้ โดยเป็นทั้งที่อาศัย รวมทั้งเป็นอาหาร ในขณะเดียวกันสีสันของดอกที่มีสีชมพูอ่อนและกลิ่นหอมหวานอ่อนๆ ซึ่งพรรณไม้ชนิดนี้รู้จักกันในชื่อว่า แคผู้ หรือ แคสันติสุข ✨
🌸 แคสันติสุข มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝑺𝒂𝒏𝒕𝒊𝒔𝒖𝒌𝒊𝒂 𝒌𝒆𝒓𝒓𝒊𝒊 (Barnett & Sandwith) Brummitt
ตามประวัติการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ครั้งแรกจัดอยู่ในสกุล Radermachera ต่อมา Santisuk (ศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย สันติสุข) ได้ย้ายไปอยู่ในสกุลที่ตั้งใหม่ คือ Barnettia แต่ในภายหลังตรวจสอบได้ว่าเป็นชื่อสกุลที่ตั้งซ้ำกับสกุลเห็ดรา ดังนั้น R. K. Brummitt ผู้เชี่ยวชาญจากสวนพฤกษศาสตร์คิวจึงตั้งชื่อสกุลใหม่ให้กับพรรณไม้ชนิดนี้อีกครั้ง โดยตั้งให้เป็นเกียรติแก่ศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพืชวงศ์แค (Bignoniaceae) ของไทย ✨
📑 จากเอกสารการสำรวจประเมินพืชที่ถูกคุกคามในประเทศไทย พ.ศ. 2560 โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุไว้ว่า แคสันติสุข จัดเป็นพืชที่มีสถานภาพอยู่ในกลุ่มมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable; VU) ซึ่งธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ โดยธนาคารเมล็ดพรรณได้เห็นพ้องว่าพรรณไม้ดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่มีการสัมปทานพื้นที่เพื่อนำมาทำปูนซีเมนต์เป็นส่วนใหญ่และยังไม่มีรายงานว่าพบในพื้นที่อื่นๆของประเทศไทยและของโลก จึงเห็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทำการศึกษาและรวบรวมเมล็ดตามขั้นตอนมาตรฐานการเก็บรักษาในธนาคารเมล็ดพรรณพืช เพื่อการเก็บระยะยาวในสภาพเยือกแข็งที่ -20 องศาเซลเซียส และในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ต่อไป 🪴
📌 ข้อมูลอ้างอิง
สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา, 2558
Comentarios