...และแล้วกาลเวลาก็ได้เดินทางมาถึงช่วงฤดูฝน กันอีกครั้ง 💧💧💧ฤดูที่ปลุกความชุ่มฉ่ำเขียวชอุ่มของผืนป่า 🌲🌳🌴 นับเป็นฤดูแห่งการเจริญเติบโตของพรรณไม้นานาชนิดเลยก็ว่าได้ 🌱 ดอกไม้พร้อมใจกันผลิบาน🌻 โดยเฉพาะพืชวงศ์ขิงหลายชนิดที่เริ่มจะแตกใบจากลำต้นใต้ดินที่ผ่านการสะสมสารอาหารมาอย่างยาวนาน 🍠 จนกระทั่งผลิดอกที่มีลักษณะและสีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว บานสะพรั่งไปทั่วอาณาจักร ⛰️
🇹🇭 ประเทศไทยเรามีการนำไม้ดอกวงศ์ขิงมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย เช่น ด้านประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ มีการนำช่อดอกของปทุมมาและดอกเข้าพรรษา 🌷💐 ใช้กราบไหว้บูชาในวันสำคัญทางพุทธศาสนา 🙏 นอกจากนี้พืชวงศ์ขิงยังมีศักยภาพในการใช้เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามากมายนับไม่ถ้วน มีการพบน้ำมันหอมระเหยในทุกส่วน ใช้รักษาหรือบรรเทาอาการของโรคหลายชนิดได้เป็นอย่างดี 💉😱😰😨😦😮😊🥰💪
🧬🌷ซึ่งปัจจุบันธนาคารพืชในส่วนของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ได้มีการจัดเก็บรักษาพันธุ์พืชวงศ์ขิงในรูปแบบเนื้อเยื่อปลอดเชื้อ โดยนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อมาประยุกต์ใช้ โดยคัดเลือกส่วนขยายพันธุ์เช่น ตาข้างที่อยู่บริเวณลำต้นใต้ดินมาฟอกฆ่าเชื้อ แล้วเพาะเลี้ยงบนอาหารที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนิน จะได้ต้นปลอดเชื้อที่เจริญขึ้นใหม่ที่พร้อมสำหรับจัดเก็บอนุรักษ์พันธุ์เป็นแหล่งพันธุกรรมได้ต่อไป
🌷🧬🥰
📚 อ้างอิง
พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. (2551). การศึกษาพืชวงศ์ขิงในประเทศไทย (Zingiberaceae). NU. Int. J. Sci., 5(2), 119–128.
สุรพล แสนสุข. (2554). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของวงศ์ขิง-ข่าในประเทศไทย. KKU Res. J., 16(3), 306–330.
Comments