ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ
สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศ และนำมาวิจัยพัฒนาเพื่อประเมินคุณค่า เช่น ศึกษาข้อมูลระดับยีน ข้อมูลสารสำคัญ และศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น วัสดุชีวภาพที่จัดเก็บในธนาคารจึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ดร.ศิษเฎศ ทองสิมา
ผู้อำนวยการ
วิสัยทัศน์
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพแบบระยะยาวและส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
-
สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพระยะยาว
-
เพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ด้านการอนุรักษ์ฯ แบบระยะยาว
-
เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลทรัพยากรชีวภาพที่จัดเก็บไว้
-
สร้างองค์ความรู้ ฐานข้อมูล และแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ผล เพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างยั่งยืน
โครงสร้างพื้นฐาน
ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพระยะยาว การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้จากการบูรณาการข้อมูล และการสร้างเครื่องมือเพื่อการใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนด้านการประมวลผลและบริหารข้อมูลพันธุกรรมประชากรไทย
ธุรกิจและบริการ
ทีมธุรกิจและบริการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเ สริมให้เกิดการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงบริการ ติดต่อสื่อสาร ให้คำปรึกษา พัฒนางานบริการจากงานวิจัยให้ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ และมีความพร้อมออกสู่ภาคธุรกิจภายใต้รูปแบบความร่วมมือทั้งในเชิงธุรกิจและวิจัย
บุคลากร
ดร.รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม
หัวหน้ากลุ่มธุรกิจและบริการ
เทคโนโลยีที่สนับสนุนพันธกิจ
เทคโนโลยีการจัดเก็บตัวอย่างชีวภาพในสภาวะต่ำกว่าจุดเยือกแข็งจาก Brooks Life Science Systems Brooks (BioStoreTM II -80 Celsius & SampleStoreTM II -20 Celsius)
เครื่องตรวจสอบคุณภาพการงอกของเมล็ด (Seed viability testing system) แบบอัตโนมัติ (LemnaTecTM Scanalyzer)
เทคโนโลยีการปลูกพืชหนาแน่นในระบบปิด (Plant Factory) มีการควบคุมปัจจัยในการเจริญของพืชแบบอัตโนมัติ
เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบปลอดเชื้อ Tissue culture
ระบบการระบุเชื้อจุลินทรีย์ (MALDI Biotyper system)
ระบบบริหารจัดการตัวอย่าง (specimen management system; SMS)
เทคโนโลยีชีวสารสนเทศเพื่อการจัดการและประมวลผลข้อมูลชีวภาพ (Bioinformatics)
การประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่บนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performing Computing and Big data storage)